สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 21-27 สิงหาคม 2566

 

ข้าว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2566
มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.375 ล้านไร่ ผลผลิต 25.761 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.96 ร้อยละ 3.27 และร้อยละ 2.36 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ฝนมาล่าช้า และคาดว่าปริมาณฝนจะน้อยกว่าปี 2565 โดยในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2566 จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้ขาดแคลนน้ำในด้านการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ส่งผลให้เกษตรกรบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณฝนน้อยจากการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ ยังเสี่ยงพบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น ไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น รวมทั้งปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ยังคงมีราคาสูง เกษตรกรจึงปรับลดปริมาณการใช้ ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2566 ปริมาณ 16.610 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 64.48 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2566 คาดว่ามีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 2.102 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.16 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2566 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.888 ล้านไร่ ผลผลิต 7.722 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 650 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ร้อยละ 24.51 ร้อยละ 25.14 และร้อยละ 0.62 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ
มีมากกว่าปี 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากในช่วงเดือนกันยายน 2565 มีพายุโนรูเข้าประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนัก และปริมาณน้ำฝนสูงกว่าค่าปกติ รวมทั้งราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับเกษตรกรบางส่วนปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม โดยขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก และการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2566 โดยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - สิงหาคม 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 7.711 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 99.86 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,824 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,662 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.10
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,973 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,696 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.37
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 33,350 บาท ราคาลดลงจากตันละ 34,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.47
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,750 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 20,200 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.72                                         
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนสิงหาคม 2566 ผลผลิต 520.941 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 512.824 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2565/66 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.58
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2566/67 ณ เดือนสิงหาคม 2566
มีปริมาณผลผลิต 520.941 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 1.58 การใช้ในประเทศ 522.952 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2565/66 ร้อยละ 0.28 การส่งออก/นำเข้า 52.898 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 1.60 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 171.776 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2565/66 ร้อยละ 1.16
- ประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่  ออสเตรเลีย เมียนมา กัมพูชา จีน ปากีสถาน ตุรกี อุรุกวัย และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ บราซิล อินเดีย ปารากวัย ไทย และเวียดนาม
- ประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ บังกลาเทศ บูร์กินาฟาโซ กานา อิหร่าน มาเลเซีย เม็กซิโก ไนจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย เซเนกัล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหราชอาณาจักร ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ บราซิล อินโดนีเซีย อิรัก เคนยา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา
- ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีลดลง ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย ไทย ไนจีเรีย และบังกลาเทศ
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
1) เวียดนาม
เวียดนาม เป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจากอินเดียและไทย ได้ประกาศยุทธศาสตร์การส่งออกข้าว และกำหนดเป้าหมายการส่งออกข้าวลดลงเหลือปีละ 4 ล้านตัน ภายในปี 2573 หรือลดลง
ร้อยละ 44 เมื่อเทียบกับการส่งออกปี 2565 ที่ส่งออกปริมาณ 7.10 ล้านตัน โดยให้เหตุผลว่า “เพื่อส่งเสริมการส่งออกข้าวที่มีคุณภาพ รักษาอุปสงค์ของตลาดในประเทศ และเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการปรับตัวตามภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก”
รายงานของกระทรวงเกษตรเวียดนาม ระบุว่า เวียดนามจะขยายตลาดส่งออกข้าวเพื่อลดการพึ่งพิงผู้รับซื้อเพียงประเทศเดียว ซึ่งที่ผ่านมาฟิลิปปินส์เป็นผู้รับซื้อข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม โดยเมื่อปี 2565 เวียดนามส่งออกข้าวไปยังฟิลิปปินส์ถึงร้อยละ 45 ของปริมาณการส่งออกข้าวของเวียดนาม อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังคงเน้นส่งออกข้าว
ในตลาดเอเชียเป็นหลัก ส่วนตลาดรอง ได้แก่ แอฟริกา อเมริกา ตะวันออกกลาง และยุโรป สำหรับการส่งออกข้าวในช่วง
7 เดือนแรกของปี 2566 (มกราคม - กรกฎาคม) เวียดนามส่งออกข้าวปริมาณ 4.89 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2565 ร้อยละ 21
ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าในปี 2566 ผลผลิตข้าวของเวียดนามจะมีประมาณ 28 ล้านตัน ซึ่งเพียงพอสำหรับการบริโภคของประชาชนในประเทศประมาณ 20 ล้านตัน และเหลือสำหรับส่งออกประมาณ 7 - 8 ล้านตัน
ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์
2) ฟิลิปปินส์
นาง Grace Poe สมาชิกวุฒิสภาฟิลิปปินส์ กล่าวว่า จากการที่อินเดียประกาศห้ามส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ ส่งผลให้ปริมาณข้าวในตลาดโลกขาดแคลนประมาณ 17.86 ล้านตัน และราคาข้าวทั่วโลกปรับสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยเวียดนามปรับขึ้นราคาข้าวจากตันละ 500 เหรียญสหรัฐฯ เป็นตันละ 600 เหรียญสหรัฐฯ ทำให้ฟิลิปปินส์ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากมีการนำเข้าข้าวจากเวียดนามถึงร้อยละ 90 ของปริมาณ
การนำเข้าข้าวทั้งหมด
กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ โดยสำนักอุตสาหกรรมพืช (Bureau of Plant Industry) รายงานว่า ในช่วง
5 เดือนแรกของปี 2566 (เดือนมกราคม - พฤษภาคม) ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวปริมาณ 1.30 ล้านตัน ขณะที่เมื่อปี 2564 นำเข้าข้าวปริมาณ 2.77 ล้านตัน และปี 2565 นำเข้าข้าวปริมาณ 3.80 ล้านตัน
สถานีโทรทัศน์ CNBC รายงานว่า ฟิลิปปินส์กำลังเผชิญกับความเสี่ยงจากสถานการณ์ความผันผวนของราคาข้าวในตลาดโลก เนื่องจากข้าวเป็นสินค้าหลักที่เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) ฟิลิปปินส์ และประชากรของประเทศบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักไม่น้อยกว่า 120 กิโลกรัมต่อปี
สำหรับปี 2567 กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ว่า ฟิลิปปินส์จะนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นจากความต้องการบริโภคในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะนำเข้าไม่น้อยกว่า 3.80 ล้านตัน
ที่มา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ



 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.66 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.65 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.81 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.78 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.39
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.90 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 11.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.85 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 345.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,015.00 บาท/ตัน)  สูงขึ้นจากตันละ 340.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,942.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.47 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 73.00 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2566/67 มีปริมาณ 1,200.370 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,164.10 ล้านตัน ในปี 2565/66 ร้อยละ 3.12 โดย สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย แคนนาดา ญี่ปุ่น อียิปต์ และเวียดนาม มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 194.87 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 178.10 ล้านตัน ในปี 2565/66 ร้อยละ 9.42 โดย บราซิล สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ยูเครน รัสเซีย สหภาพยุโรป อินเดีย แอฟริกาใต้ ปารากวัย และเซอร์เบีย ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป จีน เม็กซิโก ญี่ปุ่น  เวียดนาม เกาหลีใต้ อิหร่าน อียิปต์ โคลัมเบีย และซาอุดิอาระเบีย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 471.00 เซนต์ (6,532.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 472.00 เซนต์ (6,615.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 83.00 บาท




 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนสิงหาคม 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.648 ล้านตัน (ร้อยละ 1.98 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.317 ล้านตัน (ร้อยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลัง และเชื้อแป้งมีคุณภาพลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.77 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.76 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.36
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.90 บาท ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 6.90 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.58 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.54 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.47
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 18.50 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 272.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,570 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 272 ดอลลาร์สหรัฐ (9,610 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.18
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,760 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวที่ตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,880 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนสิงหาคมจะมีประมาณ 1.389 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.250 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.383  ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.249 ล้านตันของเดือนกรกฎาคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 0.43 และร้อยละ 0.40 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.32 บาท ลดลงจาก กก.ละ 5.38 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.12
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 30.68 บาท ลดลงจาก กก.ละ 31.06 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.22
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบมาเลเซีย อ้างอิงเดือนพฤศจิกายน ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.80 อยู่ที่ตันละ 3,865 ริงกิต ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันถั่วเหลือง ทั้งนี้ มาเลเซียยังคงอัตราภาษีส่งออกที่ร้อยละ 8 สำหรับการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบในเดือนกันยายน แต่ปรับราคาอ้างอิงสูงขึ้น โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มของมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 1 – 20 สิงหาคม สูงขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 9.80 – 17.40 ร่วมกับค่าเงินริงกิตที่อ่อนตัวลง ก็เป็นผลบวกต่อการส่งออกสินค้าปาล์มน้ำมันของมาเลเซีย
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,847.76 ริงกิตมาเลเซีย (29.43 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 3,779.95 ริงกิตมาเลเซีย (29.26 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.79
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 947.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.36 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 943.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.57 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.37
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
         - กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) รายงานว่า ปริมาณฝนยังไม่ฟื้นตัวตามที่คาดการณ์ไว้ และเดือนสิงหาคม  เป็นช่วงที่แห้งแล้งที่สุดของประเทศอินเดียในรอบกว่า 100 ปี นอกจากนี้ อินเดียยังเผชิญสภาพอากาศแห้งแล้งติดต่อกัน 11 วัน ซึ่งถือเป็นความแห้งแล้งที่ยาวนาน และโอกาสเกิดขึ้นได้ยากหากเปรียบเทียบกับสถิติที่ผ่านมา
         - Williams Brasil รายงานว่า ประเทศบราซิลมีเรือรอรับน้ำตาล ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2566 เพิ่มขึ้นเป็น 3.67 ล้านตัน จาก 3.2 ล้านตัน ในสัปดาห์ก่อนหน้า ด้านสำนักงานเลขาธิการกระทรวงการค้าต่างประเทศ (SECEX) ของบราซิล รายงานว่า การส่งออกน้ำตาลของบราซิลเดือนสิงหาคม 2566 ถึงปัจจุบัน สูงถึง 1.62 ล้านตัน ซึ่งเป็นอัตราการบรรทุกต่อวันสูงกว่าปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 40
         - ตามแหล่งข่าวของประเทศอินเดีย รายงานว่า โรงงานน้ำตาลของอินเดียต่างมีความกังวลว่า นโยบายของรัฐบาลอินเดียล่าสุดที่ได้กำหนดราคาน้ำตาลน่าจะส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของบริษัท และเกษตรกรไร่อ้อย โดยในภาคอุตสาหกรรมแย้งว่า ราคาน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นนั้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับราคาอาหารอื่นๆ ในอินเดีย ด้านรัฐบาลอินเดียกำลังพยายามรักษาราคาน้ำตาลให้อยู่ในระดับเดิมจนกว่าจะถึงเทศกาลดิวาลี (Diwali) ในเดือนพฤศจิกายน 2566 ด้านผู้ค้าในรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) กล่าวว่า ภาวะที่ขาดฝนประกอบกับอยู่ในช่วงเทศกาลแต่งงาน ส่งผลให้การบริโภคน้ำตาลและราคาน้ำตาลของอินเดียสูงขึ้น




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.54 บาท ราคาทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,365.4 เซนต์ (17.63 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 1,349.6 เซนต์ (17.64 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.1
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 418.7 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.71 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากตันละ 414.8 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.76 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.2
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 66.32 เซนต์ (51.36 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 67.01 เซนต์ (52.53 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.05


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,006.80 ดอลลาร์สหรัฐ (35.07 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 996.75 ดอลลาร์สหรัฐ (35.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.01 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 861.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.02 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 853.25 ดอลลาร์สหรัฐ (29.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,382.80 ดอลลาร์สหรัฐ (48.16 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,369.25 ดอลลาร์สหรัฐ (48.13 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.99 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 948.80 ดอลลาร์สหรัฐ (33.05 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 939.25 ดอลลาร์สหรัฐ (33.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,145.60 ดอลลาร์สหรัฐ (39.90 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,134.25 ดอลลาร์สหรัฐ (39.87 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท


 

 
ถั่วลิสง

 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,880 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,917 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.93 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,392 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,408 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.14 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 932 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  69.44 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.75 คิดเป็นร้อยละ 1.00 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 77.44 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 67.19 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 67.90 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 68.54 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,400 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.17 คิดเป็นร้อยละ 1.98 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากกำลังซื้อของผู้ของผู้บริโภคชะลอตัว แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 44.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 44.77 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.05 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท  ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 367 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 348 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 379 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 427 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 401 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 399 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.50 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 419 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 406 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 380 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 423 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 467 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.03 บาท  ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.40 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.84 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.40 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.12 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.96 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.96 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.86 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 62.42 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 
 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 21 – 27 สิงหาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ  
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.63 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 63.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.53 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.76 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 77.86 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.10 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 104.49 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 98.33 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 106.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.31 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.13 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคสูงขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.10 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา